analyticstracking
หัวข้อ   “ ประเมินความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการ COVID-19
ในภาพรวมประชาชนมีความพึงพอใจมากต่อการบริหารจัดการ COVID-19 (3.79 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน)
โดยด้านที่พึงพอใจมากที่สุดคือ การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ COVID-19
แต่ส่วนใหญ่ร้อยละ 50.5 ยังกังวลว่าเชื้อ COVID-19 จะกลับมาระบาดในรอบที่ 2
โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 76.7 เชื่อว่า พ.ร.ก. ฉุกเฉินมีส่วนต่อการควบคุม
การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
คนไทยส่วนใหญ่ร้อยละ 66.3 เห็นว่าการขับเคลื่อนประเทศด้านความเป็นอยู่ของประชาชน ใช้ชีวิต New Normal
จะช่วยกำหนดอนาคตของประเทศได้ภายหลังการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดำเนินการ
สำรวจ ความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ประเมินความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการ
COVID-19” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน
1,214 คน พบว่า
 
                  ในภาพรวมประชาชนให้คะแนนความพึงพอใจต่อการบริหาร
จัดการ COVID-19 ในด้านต่างๆ เฉลี่ย 3.79 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน
ซึ่งแปลผลได้ว่ามีความพึงพอใจมาก โดยด้านที่ได้คะแนนมากที่สุดคือ
การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ COVID-19
ได้ 4.23 คะแนน (ความพึงพอใจมากที่สุด)
รองลงมาคือ การบริหารจัดการ ควบคุม
แก้ปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ได้ 4.08 คะแนน (ความพึงพอใจมาก)
การบริหารจัดการจัดการเกี่ยวกับมาตรการเยียวยาให้กับประชาชนและการต่อต้านและ
ป้องกันข่าวลวง (fake news) ได้ 3.43 คะแนนเท่ากัน (ความพึงพอใจมาก)
 
                  เมื่อถามว่ากังวลต่อการกลับมาแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19
ในรอบ 2 มากน้อยเพียงใดพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 50.5 มีความกังวลค่อนข้างมาก
ถึงมากที่สุด
ขณะที่ร้อยละ 49.5 กังวลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
 
                  ทั้งนี้เมื่อถามต่อว่า พ.ร.ก. ฉุกเฉินมีส่วนต่อการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19
มากน้อยเพียงใดพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 76.7 มีส่วนต่อการควบคุมค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
ขณะที่ร้อยละ 23.3
มีส่วนต่อการควบคุมค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
 
                  สำหรับข้อคำถาม “จากนโยบายที่นายกฯ แถลงการณ์วันที่ 17 มิ.ย. 2563 ท่านคิดว่าการขับเคลื่อน
ประเทศด้านใด ที่จะช่วยกำหนดอนาคตประเทศ ภายหลังการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19” ส่วนใหญ่ร้อยละ
66.3 เห็นว่าเป็นด้านความเป็นอยู่ของประชาชน รักษาระยะห่าง ใช้ชีวิต New Normal
รองลงมาร้อยละ 42.8 เห็นว่า
เป็นด้านเศรษฐกิจ การค้าต่างประเทศ และร้อยละ 32.5 เห็นว่าเป็นด้านการสาธารณสุข พัฒนาการรักษา วัคซีนป้องกัน
 
 
                  โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถามดังต่อไปนี้
 
             1. คะแนนความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการ COVID-19 ในด้านต่างๆ

ด้าน
ความพึงพอใจ
(คะแนนเต็ม 5)
การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ COVID-19
4.23
การบริหารจัดการ ควบคุม แก้ปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19
4.08
การบริหารจัดการจัดการเกี่ยวกับมาตรการเยียวยาให้กับประชาชน
3.43
การต่อต้านและป้องกันข่าวลวง (fake news)
3.43
เฉลี่ยรวม
3.79

การแปลความหมายผลการวิเคราะห์ดังนี้
ค่าเฉลี่ย 4.21 – 5.00 หมายถึง มีความพึงพอใจมากที่สุด
ค่าเฉลี่ย 3.41 – 4.20 หมายถึง มีความพึงพอใจมาก
ค่าเฉลี่ย 2.61 – 3.40 หมายถึง มีความพึงพอใจปานกลาง
ค่าเฉลี่ย 1.81 – 2.60 หมายถึง มีความพึงพอใจน้อย
ค่าเฉลี่ย 1.00 – 1.80 หมายถึง มีความพึงพอใจน้อยที่สุด
 
 
             2. ความกังวลต่อการกลับมาแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ในรอบ 2

 
ร้อยละ
ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 37.1 และมากที่สุดร้อยละ 13.4)
50.5
ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 33.9 และน้อยที่สุดร้อยละ 15.6)
49.5
 
 
             3. ความเห็นต่อ พ.ร.ก. ฉุกเฉินมีส่วนต่อการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 มากน้อยเพียงใด

 
ร้อยละ
ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 53.6 และมากที่สุดร้อยละ 23.1)
76.7
ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 15.5 และน้อยที่สุดร้อยละ 7.8)
23.3
 
 
             4. ข้อคำถาม “จากนโยบายที่นายกฯ แถลงการณ์วันที่ 17 มิ.ย. 2563 ท่านคิดว่าการขับเคลื่อน
                  ประเทศด้านใด ที่จะช่วยกำหนดอนาคตประเทศ ภายหลังการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19”

 
ร้อยละ
ด้านความเป็นอยู่ของประชาชน รักษาระยะห่าง ใช้ชีวิต New Normal
66.3
ด้านเศรษฐกิจ การค้าต่างประเทศ
42.8
ด้านการสาธารณสุข พัฒนาการรักษา วัคซีนป้องกัน
32.5
ด้านการช่วยเหลือผู้ประกอบการ sme
31.8
ด้านความปลอดภัยการท่องเที่ยวในประเทศ
28.5
ด้านความปลอดภัยการเดินทางระหว่างประเทศ สนามบิน
28.4
ด้านการศึกษาให้เด็กเข้าสู่ยุค New Normal
14.4
อื่นๆ อาทิเช่น ไม่มีความเห็น ช่วยราคาพืชผลเกษตร
1.5
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                  1) เพื่อสะท้อนคะแนนความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการ COVID-19 ในด้านต่างๆ
                  2) เพื่อสะท้อนถึงความกังวลต่อการกลับมาแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ในรอบ 2 อย่างเช่น จีน นิวซีแลนด์
                  3) เพื่อสะท้อนความเห็นต่อ พ.ร.ก. ฉุกเฉินมีส่วนต่อการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19
                      มากน้อยเพียงใด
                  4) เพื่อต้องการทราบถึงจากนโยบายที่นายกฯ แถลงการณ์วันที่ 17 มิ.ย. 2563 การขับเคลื่อนประเทศด้านใด
                      ที่จะช่วยกำหนดอนาคตประเทศ ภายหลังการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่ม
สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้น
ได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 22 - 24 มิถุนายน 2563
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 27 มิถุนายน 2563
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
582
47.9
             หญิง
632
52.1
รวม
1,214
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
88
7.2
             31 – 40 ปี
188
15.5
             41 – 50 ปี
316
26.0
             51 – 60 ปี
345
28.5
             61 ปีขึ้นไป
277
22.8
รวม
1,214
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
722
59.5
             ปริญญาตรี
386
31.8
             สูงกว่าปริญญาตรี
106
8.7
รวม
1,214
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
162
3.3
             ลูกจ้างเอกชน
250
20.6
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
452
37.3
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
52
4.3
             ทำงานให้ครอบครัว
3
0.2
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
229
18.9
             นักเรียน/ นักศึกษา
20
1.6
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
46
3.8
รวม
1,214
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 02-407-3888 ต่อ 2898